We are the experts in
the design of acoustic
and audiovisual systems
that are ready to create
perfection for all your
projects.
AVL specializes in the design of audiovisual, lighting and acoustics systems, by adhering to the design principles of integrating advance science and art and translating it into unique identities that drive an organization to its full potential.
Our Services
Audio Visual
Design
AVL designs audio system with certified and standardized innovative technologies to ensure the best quality for the overall audio system.
Acoustic
Design
Acoustics design is there to ensure
that room acoustics follow the
standard values by taking acoustic
criteria into account.
Interior
Design
Interior design is the architectural
detailed elements embedded into a
space in order to support the
usability of the space.
OUR
PROJECTS
Important things that are always
considered in every service. is to
provide customers with the highest
quality In the design
service comes with attention to
detail and to pass on satisfaction
of customers in all aspects
including punctuality
Natural Gas Separation Plant
Museum and Exhibition
Blog & News
Work from home กับการปรับปรุงออฟฟิศ ให้รองรับการทำงานวิถีใหม่
Work from home กับการปรับปรุงออฟฟิศให้รองรับการทำงานวิถีใหม่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดผลสำรวจการทำงาน พบข้อมูลน่าตกใจ คนไทยทุกสาขาอาชีพตกอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ตั้งแต่พนักงานเอกชน รัฐวิสาหกิจและราชการแนะหาทางแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยด่วน การปฏิบัติงานแบบ Work from home : WFH ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับล่าสุดที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ว่าด้วย การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ โดยที่มุ่งเน้นปรับระบบการทำงานของภาครัฐให้สอดรับกับวิถีชีวิตใหม่ แบบ Remote work ของผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับชั้น คือหนึ่งในแนวทางของการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานของภาคราชการ ให้ทันกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของข้าราชการหลังโควิด-19 โดยมีรูปแบบในการปฎิบัติหน้าที่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีที่พอจะสรุปดังต่อไปนี้ มีความปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและมีสุขภาวะที่ดี มีความยืดยุ่น ทั้งด้านเวลาและสถานที่ทำงาน สามารถวัดผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำงาน มีดุลภาพระหว่างงาน-ครอบครัว-ตัวตน ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily ถึงแม้รูปแบบการทำงานของ รัฐบาลดิจิทัล ที่ให้ข้าราชการทำงานแบบ WFH หรือ Remote work ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกฯ นั้นสามารถช่วยให้การปฎิบัติงานดีขึ้นตามที่ต้องการในบางด้านแล้วก็ตาม แต่การปรับปรุงออฟฟิศให้มีสภาวะแวดล้อมที่ดี ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่สามารถดึงศักยภาพในการทำให้สูงขึ้น และที่สำคัญคือการลดการหมดไฟ หรือ Burn out ของคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล จากข้อมูลการสำรวจของ REDPAPER เผยถึง 5 สิ่งสำคัญที่ชาวออฟฟิศต้องการในสถานที่ทำงาน ได้แก่ มีพื้นที่สีเขียว เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศและช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ด้วยการนำเอาองค์ประกอบหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบสำนักงาน เช่น การนำเอาพืชพรรณธรรมชาติ หรือต้นไม้ต่างๆ มาตกแต่งในพื้นที่การทำงาน เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชุ่มชื่น เขียวชะอุ่ม รวมถึงการสร้างบรรยากาศในการทำงานท่ามกลางธรรมชาติซึ่งจะทำให้ระดับความเครียดลดลง การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และลดความเครียดทางจิตใจและทางสรีรวิทยา นโยบายทำงานในออฟฟิศที่อย่างยืดหยุ่น ไม่กำหนดเวลาทำงานในออฟฟิศตายตัว พนักงานมีอิสระในการเลือกเวลาและสถานที่ในการทำงานได้ด้วยตัวเองสามารถเข้างาน-ออกงานได้ตามความเหมาะสม ด้วยรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีพื้นที่รับประทานอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวกและผ่อนคลายระหว่างวัน มีพื้นที่เปิดโล่ง สามารถเลือกที่นั่งได้ตามชอบ ช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานให้รื่นรมย์ และให้อิสระในการเลือกที่นั่งทำงาน มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่อย่างชัดเจน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily รูปแบบ WFH ที่สามารถแก้ไขปัญหาการบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ โดยต้องจัดสำนักงานให้มีฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับการทำงานแบบ Hybrid Work และ WFH ได้ เช่น รองรับการทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา มีพื้นที่ทำงานร่วมกัน พื้นที่ทำงานส่วนตัว มีความปลอดภัย มีสุขอนามัย มีห้องประชุมที่รองรับทุกรูปแบบการประชุมและทุกเพลทฟอร์มของการประชุม เช่น Meeting both ตลอดจนการประชุมร่วมแบบ Town Hall มีพื้นที่ทำงานร่วมกันในรูปแบบ co working space เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ในระเบียบยังได้ระบุถึงการปรับปรุงออฟฟิศเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนราชการ และการให้บริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถรองรับภาวะวิกฤตและเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานได้ อีกทั้งยังได้ระบุให้ปรับปรุงสำนักงานให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีกับการดำรงชีวิตในการทำงาน ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของข้าราชการ โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดฯ ให้มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายในสถานที่ทำงานของออฟฟิศในรูปแบบ co working space เป็นต้น ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily การออกแบบปรับปรุงสำนักงานยุคใหม่ ในรูปแบบ co-working space ที่ตอบสนองไลฟสไตล์ในการทำงานแบบ New normal lifestyle นั้น นอกจากมีรูปแบบและฟังก์ชั่นในการใช้งานของออฟฟิศที่ต้องออกแบบให้รองรับการทำงานในลักษณะ New normal lifestyle โดยการจัด Zooning แล้ว ยังต้องออกแบบให้มีความอบอุ่นกับความเป็นสิ่งแวดล้อม ลดการก่อคาร์บอน เป็นธรรมชาติแบบ Homey & Biophilia มีพื้นที่ทำงานและพื้นที่คลายเครียด แบบไลฟสไตล์ เอกเขนก ดึ่มกาแฟ เป็นต้น ด้านเทคโนโลยี ก็ควรออกแบบโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสนับสนุนการทำงาน ให้รองวิถีใหม่ ที่บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะด้าน IoT และ AI ตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้าในสำนักงาน ไปถึงโซนพื้นที่ต่างๆ ด้วยการออกแบบให้เป็นระบบอัตโนมัติ หรือ Smart office เช่น การใช้ Face Recognition แทนการตอกบัตรเข้าออฟฟิศ หรือการใช้ Voice control ในการสั่งการเปิด-ปิด อุปกรณ์ภายในสำนักงานได้ Mobile Room Control เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับ Internet of Thing (IoT) โดยสามารถสั่งการได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น การจองห้องประชุม การจองโต๊ะทำงานแบบ …
Work from home กับการปรับปรุงออฟฟิศ ให้รองรับการทำงานวิถีใหม่
Work from home กับการปรับปรุงออฟฟิศให้รองรับการทำงานวิถีใหม่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดผลสำรวจการทำงาน พบข้อมูลน่าตกใจ คนไทยทุกสาขาอาชีพตกอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน ตั้งแต่พนักงานเอกชน รัฐวิสาหกิจและราชการแนะหาทางแก้ไขปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยด่วน การปฏิบัติงานแบบ Work from home : WFH ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับล่าสุดที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 ว่าด้วย การปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของส่วนราชการ โดยที่มุ่งเน้นปรับระบบการทำงานของภาครัฐให้สอดรับกับวิถีชีวิตใหม่ แบบ Remote work ของผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับชั้น คือหนึ่งในแนวทางของการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานของภาคราชการ ให้ทันกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อให้สอดคล้องวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของข้าราชการหลังโควิด-19 โดยมีรูปแบบในการปฎิบัติหน้าที่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ดีที่พอจะสรุปดังต่อไปนี้ มีความปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคและมีสุขภาวะที่ดี มีความยืดยุ่น ทั้งด้านเวลาและสถานที่ทำงาน สามารถวัดผลงานได้อย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำงาน มีดุลภาพระหว่างงาน-ครอบครัว-ตัวตน ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily ถึงแม้รูปแบบการทำงานของ รัฐบาลดิจิทัล ที่ให้ข้าราชการทำงานแบบ WFH หรือ Remote work ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกฯ นั้นสามารถช่วยให้การปฎิบัติงานดีขึ้นตามที่ต้องการในบางด้านแล้วก็ตาม แต่การปรับปรุงออฟฟิศให้มีสภาวะแวดล้อมที่ดี ก็ยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญอีกส่วนหนึ่ง ที่สามารถดึงศักยภาพในการทำให้สูงขึ้น และที่สำคัญคือการลดการหมดไฟ หรือ Burn out ของคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล จากข้อมูลการสำรวจของ REDPAPER เผยถึง 5 สิ่งสำคัญที่ชาวออฟฟิศต้องการในสถานที่ทำงาน ได้แก่ มีพื้นที่สีเขียว เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศและช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ด้วยการนำเอาองค์ประกอบหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบสำนักงาน เช่น การนำเอาพืชพรรณธรรมชาติ หรือต้นไม้ต่างๆ มาตกแต่งในพื้นที่การทำงาน เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความชุ่มชื่น เขียวชะอุ่ม รวมถึงการสร้างบรรยากาศในการทำงานท่ามกลางธรรมชาติซึ่งจะทำให้ระดับความเครียดลดลง การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และลดความเครียดทางจิตใจและทางสรีรวิทยา นโยบายทำงานในออฟฟิศที่อย่างยืดหยุ่น ไม่กำหนดเวลาทำงานในออฟฟิศตายตัว พนักงานมีอิสระในการเลือกเวลาและสถานที่ในการทำงานได้ด้วยตัวเองสามารถเข้างาน-ออกงานได้ตามความเหมาะสม ด้วยรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Working มีพื้นที่รับประทานอาหาร เพื่ออำนวยความสะดวกและผ่อนคลายระหว่างวัน มีพื้นที่เปิดโล่ง สามารถเลือกที่นั่งได้ตามชอบ ช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานให้รื่นรมย์ และให้อิสระในการเลือกที่นั่งทำงาน มีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่อย่างชัดเจน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily รูปแบบ WFH ที่สามารถแก้ไขปัญหาการบูรณาการและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ โดยต้องจัดสำนักงานให้มีฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับการทำงานแบบ Hybrid Work และ WFH ได้ เช่น รองรับการทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา มีพื้นที่ทำงานร่วมกัน พื้นที่ทำงานส่วนตัว มีความปลอดภัย มีสุขอนามัย มีห้องประชุมที่รองรับทุกรูปแบบการประชุมและทุกเพลทฟอร์มของการประชุม เช่น Meeting both ตลอดจนการประชุมร่วมแบบ Town Hall มีพื้นที่ทำงานร่วมกันในรูปแบบ co working space เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ในระเบียบยังได้ระบุถึงการปรับปรุงออฟฟิศเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของส่วนราชการ และการให้บริการประชาชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างสอดคล้องกับสภาพสังคมและการพัฒนาในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถรองรับภาวะวิกฤตและเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นกับหน่วยงานได้ อีกทั้งยังได้ระบุให้ปรับปรุงสำนักงานให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีกับการดำรงชีวิตในการทำงาน ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจของข้าราชการ โดยเฉพาะด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดฯ ให้มีความยืดหยุ่นและผ่อนคลายในสถานที่ทำงานของออฟฟิศในรูปแบบ co working space เป็นต้น ขอบคุณรูปภาพจาก : archdaily การออกแบบปรับปรุงสำนักงานยุคใหม่ ในรูปแบบ co-working space ที่ตอบสนองไลฟสไตล์ในการทำงานแบบ New normal lifestyle นั้น นอกจากมีรูปแบบและฟังก์ชั่นในการใช้งานของออฟฟิศที่ต้องออกแบบให้รองรับการทำงานในลักษณะ New normal lifestyle โดยการจัด Zooning แล้ว ยังต้องออกแบบให้มีความอบอุ่นกับความเป็นสิ่งแวดล้อม ลดการก่อคาร์บอน เป็นธรรมชาติแบบ Homey & Biophilia มีพื้นที่ทำงานและพื้นที่คลายเครียด แบบไลฟสไตล์ เอกเขนก ดึ่มกาแฟ เป็นต้น ด้านเทคโนโลยี ก็ควรออกแบบโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาสนับสนุนการทำงาน ให้รองวิถีใหม่ ที่บูรณาการร่วมกับเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด ด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะด้าน IoT และ AI ตั้งแต่ก้าวแรกของการเข้าในสำนักงาน ไปถึงโซนพื้นที่ต่างๆ ด้วยการออกแบบให้เป็นระบบอัตโนมัติ หรือ Smart office เช่น การใช้ Face Recognition แทนการตอกบัตรเข้าออฟฟิศ หรือการใช้ Voice control ในการสั่งการเปิด-ปิด อุปกรณ์ภายในสำนักงานได้ Mobile Room Control เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับ Internet of Thing (IoT) โดยสามารถสั่งการได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น การจองห้องประชุม การจองโต๊ะทำงานแบบ …
ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล
ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล การแพร่ระบาด COVID-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ ที่เกิดขึ้นอย่าง Disruption ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะแม้การแพร่ระบาด COVID-19 จะลดลง แต่โลกก็เต็มไปด้วยความผันผวน ทั้งจากปัญหาความขัดแย้ง สงคราม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จนก้าวเข้าสู่ “VUCA World” คือ ความผันผวน(Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และ ความคลุมเครือ (Ambiguity) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูง รวดเร็ว ซับซ้อน และคลุมเครือ อย่างคาดเดาไม่ได้ ในขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องเร่งรัดจัดระบบงาน และกระบวนการในการให้บริการประชาชนให้ทันกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ด้วยแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ในยุทธศาสตร์ที่ ๖ ด้าน ของแผน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยมุ่งหวังในการปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการในการบริหารงานภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูงขึ้น สามารถผลักดันภารกิจ นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ ได้อย่างทันการกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการก้าวสู่ความเป็น รัฐบาลดิจิทัล ที่สามารถให้บริการประชาชนได้จากทุกที ทุกเวลา ในทุกๆ ด้าน อย่างบูรณาการกัน ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล คือรูปแบบของศูนย์กลางสำหรับปฏิบัติงานร่วมกัน ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งในสภาวะปรกติและสภาวะฉุกเฉิน เพื่อช่วยให้การปฏิบัติการขอองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล เป็นเครื่องมือทางการบริหารของหน่วยงานภาครัฐในยุค Digital Transformation ที่ออกแบบให้สอดรับการการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็น สำนักงานสมัยใหม่ ในรูแบบ co working space โดยมีคุณลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ รองรับการปฏิบัติงานแบบ Work from home: WFH หรือ Remote work ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับล่าสุดที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 โดยที่มุ่งเน้นปรับระบบการทำงานของภาครัฐ ให้สอดรับกับวิถีชีวิตแบบ New Normal ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทุกระดับชั้น ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากภายในสำนักงาน สู่การทำงานนอกสถานที่ ไม่จำกัดว่าจะต้องทำที่สำนักงานหรือต้องทำงานที่บ้านเท่านั้น ขอเพียงให้ได้ปริมาณงาน (Quantity) และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ (Quality) เทียบเท่ากับการทำงานที่สำนักงานก็เพียงพอ แนวคิดแบบ Remote Work ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทาย เพราะไม่เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่เป็นการปรับวิธีคิดให้กับองค์กรด้วย สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา Real time แบบ 3A: Anytime Anything Anywhere การปรับรูปแบบการทำงาน ให้สามารถทำจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้ โดยการใช้เครื่องมือดิจิทัลมาลดข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดขึ้น อาทิเช่น การใช้ซอฟต์แวร์ Zoom, Microsoft Team สำหรับประชุมงานออนไลน์ หรือ โปรแกรม ASANA โปรแกรมสำหรับการติดตามภาระงาน ในลักษณะของ Dashboard ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์ ไม่ต้องติดตั้งแอพลิเคชั่น รองรับการทำงานได้ทุกรูปแบบ ทั้ง Offline Onsite และ Hybrid การบูรณาการการทำงานแบบผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงาน ที่พนักงานบางส่วนสามารถเลือกทำงานที่ออฟฟิศ บางส่วนสามารถทำงานจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆได้ โดยเน้นที่การออกแบบสถานที่ทำงานในรูปแบบ Hybrid Office เพื่อทำหน้าที่เป็นจุดยึดทางสังคมในการทำงานที่ตอบสนองการทำงานแบบ Activity-Based Working (ABW) ที่สามารถทำงานร่วมกันแบบเห็นหน้าพร้อมกันและทำงานทางไกลได้พร้อมกัน รองรับทุก Platform และทุกอุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน ในรูปแบบ BYD : Bring your own device เป็นรูปแบบการทำงานที่ให้พนักงานนำอุปกรณ์การทำงานของตัวเองมาใช้ เพื่อลดการสัมผัสร่วมกัน ซึ่งการทำงานรูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มอิสระในการทำงาน ลดระยะเวลาในการเรียนรู้กับอุปกรณ์ที่ไม่คุ้นชินในการใช้งาน มีรูปแบบทางกายภาพที่รองรับการใช้งานแบบ Multifunction เช่น การปฏิบัติงานตามปรกติ การประชุม การอบรมสัมมนา การแบ่งกลุ่มทำงานแบบ Agile Methodology การทำงนแบบแบบ Task force team ตลอดจนการเป็นศูนย์ปฏิบัติการในสถานะการวิกฤติ หรือสถานการฉุกเฉิน ในรูปแบบของ War room หรือ Command control room เป็นต้น รองรับการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์กรได้ โดยสามารถสร้างและปรับเปลี่ยนสมมุติฐานรูปแบบ (Scenario) ต่างๆ พร้อมฝึกอบรมทีมปฏิบัติการ ไว้รองรับการปฏิบัติการบนสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไว้ล่วงหน้า สามารถแก้ไขปัญหาการบูรณาการ ทั้งฐานข้อมูลและการมีปฏิสัมพันธ์ ในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อทั้งของภาครัฐและเอกชน ในรูปบูรณาการ Integration …
Hybrid Office ชีวิตวีถีใหม่ในการทำงาน
ปัจจุบันเราเข้าสู่ยุคของการทำงานแบบผสมผสานอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ไม่ใช่คำถามอีกต่อไปว่าเราควรทำงานที่สำนักงานหรือเราควรทำงานที่บ้าน รูปแบบการทำงานทั้งสองได้รับการยอมรับเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่ และมีแนวโน้มว่าจะอยู่กับเราอย่างไม่มีกำหนด บทความนี้กล่าวถึงวิธีที่การออกแบบสำนักงานแบบไฮบริดที่สามารถตอบสนองต่อความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานได้อย่างไร Hybrid Office คืออะไร สำนักงานยุคใหม่ ที่พนักงานบางส่วนทำงานจากที่ออฟฟิศ บางส่วนทำงานจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆได้ โดยพนักงานมีอิสระในการเลือกเวลาและสถานที่ในการทำงานได้ด้วยตัวเอง หลักฐานเริ่มปรากฏว่าสถานที่ทำงานที่ใช้รูปแบบไฮบริดจะได้รับความนิยมและมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากที่สุด ผลการวิจัยเผยว่า การทำงานแบบไฮบริดเพิ่มประสิทธิภาพงานได้จริง ซึ่งผลวิจัยยังบอกอีกว่า 53% ของคนงานทั่วโลกต้องการรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด ซึ่งสามารถเลือกทำงานทางไกลได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของวันทำงานปกติ จากการสำรวจของ ONS (Office for National Statistics) ประเทศอังกฤษ เมื่อเร็ว ๆ นี้พบว่า 85% ของคนทำงานในสหราชอาณาจักรชื่นชอบวิธีการทำงานแบบผสมผสานทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ในทำนองเดียวกันในสหรัฐอเมริกา 52% ของคนงานในสหรัฐฯ ชอบทั้งสองอย่างผสมกัน และไม่ใช่แค่ความรู้สึกเฉยๆ จำนวนการค้นหางานที่เสนอการทำงานทางไกลเพิ่มขึ้นสามเท่าในปี 2564 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปสำหรับพนักงานหลังจากการเข้าสู่ ภาวะ “ Next Normal ” หรือ ชีวิตวิถีถัดไป คือ การใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ของคนในสังคมทุกช่วงวัย หลังจากที่ได้ปรับตัวกับสถานการณ์โควิด 19 ที่ประชากรวัยทำงานจะพิจารณาถึงความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ความเป็นอยู่ที่ดี และการทำงานที่ยืดหยุ่น ดังนั้น หลายองค์กรและหลายๆ หน่วยงานให้ความสำคัญในเรื่องนี้กับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานด้วยการออกแบบและจัดวางผังพื้นที่ของสำนักงานอย่างเหมาะสมเพื่อรองรับการทำงานแบบผสมผสาน เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากการทำงานที่สำนักงานและการทำงานจากที่บ้านได้มากที่สุด เราจะกำหนดรูปแบบสำนักงานแบบไฮบริดได้อย่างไร? การออกแบบสำนักงานแบบไฮบริดสามารถกำหนดได้ว่า เป็นการออกแบบผังพื้นที่ทำงานที่สามารถทำงานร่วมกันแบบเห็นหน้าพร้อมกันและทำงานทางไกลได้พร้อมกัน ซึ่งจะแตกต่างจากสำนักงานแบบ agile workplace ที่มีรูปแบบของสถานที่หรือลักษณะการทำงานที่มุ่งเน้นความคล่องตัว เพื่อสร้างพื้นที่แบบไดนามิกสำหรับพนักงานแต่เฉพาะภายในการโต้ตอบแบบเห็นหน้ากันของสำนักงานจริงเท่านั้น แม้ว่า Hybrid Office จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ได้เปลี่ยนวิกฤตให้กลับกลายเป็นโอกาสในการพาเราไปสู่วิวัฒนาการหรือการแสวงหาสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ในการทำงานที่พนักงานสามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานที่บ้านและที่ทำงานได้อย่างราบรื่น แต่ยังต้องการโซลูชันและแนวคิดต่างๆ ที่สามารถรอบรับการทำงานได้ ซึ่งบางส่วนได้แก่: พื้นที่เปิดใช้งาน Wi-Fi สำหรับการเชื่อมต่อกับพนักงานที่ทำงานจากที่บ้าน เทคโนโลยีจองห้องประชุมและพื้นที่ทำง่านส่วนตัว เฟอร์นิเจอร์สำนักงานที่ปรับแต่งรูปแบบในการใช้งานได้และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย การผสมผสานระหว่างพื้นที่การทำงานร่วมกันแบบทีมควบคู่ไปกับพื้นที่ส่วนตัว หลักการสำคัญของการออกแบบสำนักงานแบบไฮบริด อย่างที่กล่างไว้ข้างต้นว่าการออกแบบสำนักงานแบบไฮบริดมักเกี่ยวข้องกับการกำหนดผังพื้นที่สำนักงานและเฟอร์นิเจอร์ที่มีอยู่ใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่ทำงานร่วมกันและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น หลักการสำคัญของการออกแบบสำนักงานแบบไฮบริด คือ การสร้างพื้นที่ที่อยู่เหนืออุปสรรคทางกายภาพและทางสังคม แต่นั่นไม่ได้แปลว่าพื้นที่น้อยเสมอไป ยกตัวอย่าง เช่น แนวทางการจัดการพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่โดยการลดจำนวนโต๊ะทำงานลงจาก 100 % เหลือ 60 % ในขณะที่ยังคงพื้นที่เดิมไว้ และออกแบบวางผังพื้นที่ทำงานใหม่ในรูปแบบ Hot Desk โดยเน้นให้พนักงานใช้พื้นที่ส่วนกลางมากขึ้น เน้นการออกแบบ Open Space ไม่ยึดติดกับตำแหน่งหรือโต๊ะประจำ แต่ให้ทุกคนสามารถใช้พื้นที่ส่วนกลางในการทำงาน เพื่อความยืดหยุ่นที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการจัดพื้นที่สำนักงานในรูปแบบ Hot Desk แล้ว Hybrid Office ยังให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก เช่น การปรับปรุงห้องประชุม หรือการปรับพื้นที่ส่วนกลางเพิ่มมากขึ้น ไม่ยึดติดกับการนั่งทำงานที่โต๊ะ แต่ปรับให้สำนักงานเป็นเหมือนพื้นที่ผ่อนคลายสำหรับพนักงาน โดยในแนวทางการปรับปรุงที่ตอบสนองการทำงานคือ การปรับปรุงสำนักงานให้รองรับกับ การประชุมทางไกล (Conference Room) ทั้ง การปรับลดขนาดห้องประชุม เพิ่มเทคโนโลยีในการประชุม หรือการปรับมาใช้ Phone Booth เพื่อสร้างพื้นที่การประชุมขนาดเล็กสำหรับการติดต่องานกับลูกค้าผ่านการโทรศัพท์หรือ Video Call เพื่อลดปัญหาพื้นที่ประชุมไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน Hybrid Office Technology การปรับเปลี่ยนเฉพาะพื้นที่ทำงานนั้นอาจจะยังไม่เพียงพอ แต่ควรจะต้องมีเทคโนโลยีที่จะจะเข้ามาช่วยรองรับการทำงานด้วย การเตรียมเทคโนโลยีควรเริ่มต้นทั้งแต่การปรับรูปแบบการทำงาน เช่น การใช้แอพลิเคชัน Slack ในการสื่อสาร การติดตามภาระงานผ่านโปรแกรม Asana หรือการนำคอนเซ็ปต์ Work on Cloud มาปรับใช้อย่างการรวบรวมงานผ่าน Google Cloud หรือ Dropbox รวมถึงการใช้ระบบบริหารพื้นที่ทำงาน (Workplace Management System) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงานที่จะเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ สามารถจองโต๊ะทำงานส่วนกลางล่วงหน้าได้ เทคโนโลยีและเครื่องมือต่างๆเหล่านี้ จะเข้ามาช่วยรองรับการทำงานแบบ Work from Home ในระยะสั้น และรองรับการทำงานแบบ Hybrid Work ในระยะยาวได้อย่างสมบูรณ์แบบ ตอบโจทย์รูปแบบการทำงานในยุค New Normal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สรุป เราจะเห็นได้ว่าการออกแบบและปรับปรุงสำนักงานยุคใหม่ให้เป็นสถานที่ทำงานแบบ Hybrid Working จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรยุคใหม่ที่ต้องการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล มองหาการทำงานที่มีความยืดหยุ่นกว่าเดิม มีความทันสมัย รองรับการเปลี่ยนแปลง ให้อิสระในการใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ และพร้อมสร้าง Productivity ให้กับหน่วยงานได้เป็นอย่างดี Hybrid Office ออฟฟิศสมัยใหม่จึงเป็นคำตอบของการทำงานรูปแบบใหม่ในยุค New Normal ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับองค์กรใดที่สนใจในการปรับปรุงสำนักงานและห้องประชุมยุคใหม่ สามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญได้ที่ AVL
New Normal Smart Office ออฟฟิศยุคใหม่ ในปี 2022
New Normal Smart Office แนวโน้มการออกแบบสำนักงานที่เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวโน้มของ ออฟฟิศยุคใหม่ ในปี 2022 นี้ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าสถานที่ทำงานและวิธีการทำงานของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากอันเป็นผลมาจากการระบาดใหญ่ของ covid-19 และแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ มีอิทธิพลต่อแนวโน้มเกือบทั้งหมดในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการทำงาน ในสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แล้วออฟฟิศในปี 2022 มีอะไรในสถานที่ทำงานบ้าง? Smart Office สำนักงานอัจฉริยะมาถึงแล้ว การถือกำเนิดของการทำงานแบบไฮบริดได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะภายในสถานที่ทำงานที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถ จองพื้นที่ทำงานหรือห้องประชุม ระบบเซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศและระดับแสงธรรมชาติร่วมกับการใช้พื้นที่ต่างๆภายในสำนักงานเพื่อปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เราเชื่อว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น และด้วยการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี “ดิจิทัลทวิน” เพื่อเพิ่มระดับของข้อมูลที่องค์กรสามารถควบคุมได้เพื่อปรับปรุงสถานที่ทำงานและยอมรับการนำเทคโนโลยีอัจฉริยะมาใช้เพิ่มมากขึ้น งานศิลป์กับงานตกแต่งภายในที่ทำงาน การรวมงานศิลปะเป็นคุณลักษณะในพื้นที่ที่โดดเด่นจะเพิ่มข้อความสำคัญของแบรนด์ ศิลปะบนผนังหรือกราฟิกสื่อถึงแบรนด์กับพนักงานและผู้เยี่ยมชม งานศิลปะได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นมากกว่าการตกแต่ง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ในหลายกรณี และยังสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานได้ การบูรณาการการทำงานแบบผสมผสานกับสถานที่ทำงานจริง โดยส่วนใหญ่ สถานที่ทำงานแบบดั้งเดิมได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับพนักงานส่วนใหญ่ที่เข้ามาทำงานในออฟฟิศในเวลาใดก็ได้ โครงสร้างดังกล่าวมีการพัฒนาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่การแพร่ระบาดของเชื่อไวรัสได้เร่งกระแสนี้ให้เร็วขึ้น โดยที่ปัจจุบันหลายองค์กรยอมรับแนวทางปฏิบัติแบบไฮบริดเป็นบรรทัดฐาน และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับปรุงสำนักงานให้รองรับการทำงานที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการคำนึงความปลอดภัยของพนักงานทุกคน การออกแบบสำนักงานในรูปแบบของการทำงานแบบผสมผสาน ได้ให้ความสำคัญของสถานที่ทำงานเพิ่มขึ้น และเน้นที่การออกแบบสถานที่ทำงานเพื่อทำหน้าที่เป็นจุดยึดทางสังคมในการทำงานที่ตอบสนองการทำงานแบบ Activity-Based Working (ABW) ที่เน้นการจัดสภาวะแวดล้อมที่ทำงานให้อิงกับกิจกรรมภายในองค์กร ทั้งการทำงานและสันทนาการ ทำให้พนักงานรู้จักและมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็นในการทำงาน เพิ่มความสามัคคีภายในองค์กรโดยพื้นที่ที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ของพนักงานในสำนักงานต้องออกแบบและการจัดวางพื้นที่ให้เหมาะสมและปลอดภัย การจัดพื้นที่สำนักงานรูปแบบใหม่ Hot Desk เป็นหนึ่งในแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ ที่หลายองค์กรเริ่มนำมาปรับใช้ ร่วมกับเทรนด์อื่นๆอย่าง Remote Work และ ABW (Activity-Based Working) ผ่านการปรับสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้คนในอนาคต เพื่อทำให้องค์กรพร้อมก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ การจัดวางพื้นที่ทำงานที่หลากหลายให้กับพนักงาน (Integrating Hybrid Working and the Physical Workplace) การออกแบบสถานที่ทำงานที่มีความเหมาะกับสไตล์การทำงานของพนักงานและประเภทของงานถือเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ นอกเหนือจากการปรับรูปแบบการทำงานแล้ว การปรับปรุงในเชิงกายภาพภายในสำนักงาน ที่คำนึงถึง การมีสมาธิ การทำงานร่วมกัน และความเป็นอยู่ที่ดี เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าสถานที่ทำงานนั้นเหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานในนั้น สมาธิ Concentrate โต๊ะทำงานอาจเป็นพื้นที่ที่บุคคลสามารถมีสมาธิได้ แต่ในบางครั้ง อาจเป็นเรื่องยากที่จะจดจ่ออยู่กับการทำงานโดยไม่ถูกรบกวนจากสิ่งที่เกิดขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ทางเลือกที่ได้รับความนิยมคือการสร้างพื้นที่สมาธิโดยเฉพาะ ที่ไม่มีเสียงรบกวน ไม่มีสิ่งรบกวนสมาธิ ร่วมมือ Collaborate ห้องประชุมเป็นสถานที่สำหรับการทำงานร่วมกันมานานแล้ว แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สำนักงานยุคใหม่หลายแห่งได้รวมเอาพื้นที่การทำงานและการประชุมร่วมกันโดยเฉพาะ ที่ไม่เน้นงานตกแต่งแต่เน้นไปที่การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น กระดานไวท์บอร์ดแบบโต้ตอบ (Interactive Whiteboard ) หรือออกแบบให้มีผนังที่เขียนได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้ เชื่อมต่อ Connect เนื่องจาก Hybrid Working กลายเป็นเรื่องปกติ พนักงานที่ทำงานในสำนักงานจึงต้องการพื้นที่มากขึ้น ซึ่งพวกเขาสามารถเชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานที่ทำงานอยู่ภายนอกผ่านวิดีโอแชทหรือการโทรแบบกลุ่ม แทนที่จะให้แต่ละคนใช้ห้องประชุมเต็มรูปแบบ พ็อดขนาดเล็ก หรือ Phone Both กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากให้ความเป็นส่วนตัวสำหรับบุคคลในการเชื่อมต่อ และแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องมีความสะดวกและง่ายในการใช้งาน สามารถต่อเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แล็ปท็อป เพื่อเข้าร่วม/เริ่มการโทรได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เติมพลัง Recharge สถานที่ทำงานไม่ควรเป็นเพียงแค่ที่ทำงานเท่านั้น เนื่องจากพนักงานต้องการเวลาพัก เวลาในการพบปะสังสรรค์และเติมพลัง และในขณะที่โรงอาหารหรือพื้นที่แยกเป็นส่วนๆ ของสภาพแวดล้อมในสำนักงานแบบเดิมๆ ได้ถูกพัฒนาไปอย่างสิ้นเชิงเพื่อทำให้เกิดพื้นที่ที่พนักงานโดยรวมมีส่วนร่วม เช่น มุมกาแฟที่รวบรวมกาแฟคุณภาพระดับบาริสต้าไว้บริการพนักงาน รวมไปจนถึง อุปกรณ์เกมส์ต่างๆ เช่น พินบอล พูล ฟุตบอลโต๊ะ และแม้แต่บูธคาราโอเกะ อย่างไรก็ตาม สำนักงานหลายแห่งกำลังก้าวไปอีกขั้น และรวมถึงห้องเติมพลังหรือพื้นที่เฉพาะที่พนักงานสามารถงีบหลับ นั่งสมาธิ เล่นโยคะ หรือเล่นเครื่องดนตรีได้หลากหลายใน สถานที่ทำงานอย่างยั่งยืน The Sustainable Workplace ความยั่งยืนมีความสำคัญเพิ่มขึ้น และปี 2565 จะเห็นการเน้นย้ำมากขึ้นในการสร้างสถานที่ทำงานที่ยั่งยืน ในขณะที่การรับรองเฉพาะทางดูเหมือนว่า BREEAM และ LEED จะพิจารณาจากความยั่งยืนโดยรวมและประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารสำนักงาน รวมทั้งมาตรฐานใหม่ เช่น WELL Building Standard ที่มุ่งเน้นไปที่ความเป็นอยู่ที่ดีของผู้อยู่อาศัยในอาคาร และการผสมผสานการรับรองและมาตรฐานที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างสถานที่ทำงานที่ยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตทีดีอย่างแท้จริง มีหลายพื้นที่ที่การออกแบบสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืนได้ เช่น การใช้เฟอร์นิเจอร์รีไซเคิล การเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลในงานตกแต่งภายใน รวมถึงการมุ่งเน้นที่การปรับใช้แสงจากธรรมชาติให้เหมาะสมเพื่อลดการใช้พลังงาน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อาคารและพื้นที่เพื่อปรับปรุงให้เกิดความยั่งยืนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ข้อพิจารณาด้านการออกแบบอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกต่อความยั่งยืน ได้แก่ การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนให้ผู้อยู่อาศัยปั่นจักรยานไปทำงาน เช่น ห้องอาบน้ำและ Locker เก็บของใช้ นโยบายที่ไม่ต้องใช้กระดาษ และ/หรือแนะนำถ้วยกาแฟแบบใช้ซ้ำได้สำหรับพนักงาน ปัจจุบันหลายๆหน่วยงานตระหนักถึงภาวะโลกร้อน และตั้งใจปรับปรุงสำนักงานและรูปแบบการทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานที่ทำงานจึงเป็นส่วนสำคัญของวาระแห่งความยั่งยืน Biophilic Office Space พื้นที่สำนักงานชีวภาพ Biophilic Office Design เทรนด์การออกแบบออฟฟิศยุคใหม่ ที่เชื่อมโยงชีวิตประจำวันของมนุษย์เข้ากับองค์ประกอบทางธรรมชาติและระบบนิเวศน์ ด้วยการนำเอาองค์ประกอบหรือวัสดุธรรมชาติมาใช้ในงานออกแบบสำนักงาน อาทิเช่น การนำเอาพืชพรรณธรรมชาติ หรือต้นไม้ต่างๆ มาตกแต่งในพื้นที่การทำงาน เช่น การสร้าง ซุ้ม หรืองานออกแบบเพดานที่เต็มไปด้วยพืชพรรณไม้ทางธรรมชาติ หรือผนังที่ถูกออกแบบให้เป็นสวนแนวตั้ง …
Conference Room Functions
Having a meeting is an essential process for every organization. Planning, brainstorming, solving problems, and making decision on an important agenda all take place in a conference room.