ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล

การแพร่ระบาด COVID-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลกใบนี้ ที่เกิดขึ้นอย่าง Disruption ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น เพราะแม้การแพร่ระบาด COVID-19 จะลดลง แต่โลกก็เต็มไปด้วยความผันผวน ทั้งจากปัญหาความขัดแย้ง สงคราม เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ จนก้าวเข้าสู่ “VUCA World” คือ ความผันผวน(Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และ ความคลุมเครือ (Ambiguity) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสูง รวดเร็ว ซับซ้อน และคลุมเครือ อย่างคาดเดาไม่ได้ ในขณะที่ภาครัฐเองก็ต้องเร่งรัดจัดระบบงาน และกระบวนการในการให้บริการประชาชนให้ทันกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป ด้วยแผนพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ในยุทธศาสตร์ที่ ๖ ด้าน ของแผน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยมุ่งหวังในการปรับเปลี่ยนระบบและกระบวนการในการบริหารงานภาครัฐให้มีขีดสมรรถนะสูงขึ้น สามารถผลักดันภารกิจ นำการเปลี่ยนแปลง พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ ได้อย่างทันการกับกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการก้าวสู่ความเป็น รัฐบาลดิจิทัล ที่สามารถให้บริการประชาชนได้จากทุกที ทุกเวลา ในทุกๆ ด้าน อย่างบูรณาการกัน

digital Government WFH

ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล คือรูปแบบของศูนย์กลางสำหรับปฏิบัติงานร่วมกัน ในการดำเนินงานด้านต่างๆ ทั้งในสภาวะปรกติและสภาวะฉุกเฉิน เพื่อช่วยให้การปฏิบัติการขอองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่น

ศูนย์ปฏิบัติการ รัฐบาลดิจิทัล เป็นเครื่องมือทางการบริหารของหน่วยงานภาครัฐในยุค Digital Transformation ที่ออกแบบให้สอดรับการการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็น สำนักงานสมัยใหม่ ในรูแบบ co working space โดยมีคุณลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้

รองรับการปฏิบัติงานแบบ Work from home: WFH หรือ Remote work ตามระเบียบใหม่ของสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับล่าสุดที่เพิ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2565 โดยที่มุ่งเน้นปรับระบบการทำงานของภาครัฐ ให้สอดรับกับวิถีชีวิตแบบ New Normal ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในทุกระดับชั้น ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากภายในสำนักงาน สู่การทำงานนอกสถานที่ ไม่จำกัดว่าจะต้องทำที่สำนักงานหรือต้องทำงานที่บ้านเท่านั้น ขอเพียงให้ได้ปริมาณงาน (Quantity) และได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ (Quality) เทียบเท่ากับการทำงานที่สำนักงานก็เพียงพอ แนวคิดแบบ Remote Work ถือเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทาย เพราะไม่เพียงแค่เปลี่ยนรูปแบบในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่เป็นการปรับวิธีคิดให้กับองค์กรด้วย

สามารถทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา Real time แบบ 3A: Anytime Anything Anywhere การปรับรูปแบบการทำงาน ให้สามารถทำจากที่บ้านหรือจากที่ไหนก็ได้ โดยการใช้เครื่องมือดิจิทัลมาลดข้อจำกัดทางกายภาพที่เกิดขึ้น อาทิเช่น การใช้ซอฟต์แวร์ Zoom, Microsoft Team  สำหรับประชุมงานออนไลน์ หรือ โปรแกรม ASANA โปรแกรมสำหรับการติดตามภาระงาน ในลักษณะของ Dashboard ซึ่งสามารถใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์ ไม่ต้องติดตั้งแอพลิเคชั่น

รองรับการทำงานได้ทุกรูปแบบ ทั้ง Offline Onsite และ Hybrid การบูรณาการการทำงานแบบผสมผสานที่ให้ความสำคัญกับการทำงานของพนักงาน ที่พนักงานบางส่วนสามารถเลือกทำงานที่ออฟฟิศ บางส่วนสามารถทำงานจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆได้ โดยเน้นที่การออกแบบสถานที่ทำงานในรูปแบบ Hybrid Office เพื่อทำหน้าที่เป็นจุดยึดทางสังคมในการทำงานที่ตอบสนองการทำงานแบบ Activity-Based Working (ABW) ที่สามารถทำงานร่วมกันแบบเห็นหน้าพร้อมกันและทำงานทางไกลได้พร้อมกัน

รองรับทุก Platform และทุกอุปกรณ์ส่วนตัวในการทำงาน ในรูปแบบ BYD : Bring your own device เป็นรูปแบบการทำงานที่ให้พนักงานนำอุปกรณ์การทำงานของตัวเองมาใช้ เพื่อลดการสัมผัสร่วมกัน ซึ่งการทำงานรูปแบบนี้จะช่วยเพิ่มอิสระในการทำงาน ลดระยะเวลาในการเรียนรู้กับอุปกรณ์ที่ไม่คุ้นชินในการใช้งาน

มีรูปแบบทางกายภาพที่รองรับการใช้งานแบบ Multifunction เช่น การปฏิบัติงานตามปรกติ การประชุม การอบรมสัมมนา การแบ่งกลุ่มทำงานแบบ Agile Methodology การทำงนแบบแบบ Task force team ตลอดจนการเป็นศูนย์ปฏิบัติการในสถานะการวิกฤติ หรือสถานการฉุกเฉิน ในรูปแบบของ War room หรือ Command control room เป็นต้น

รองรับการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์กรได้ โดยสามารถสร้างและปรับเปลี่ยนสมมุติฐานรูปแบบ (Scenario) ต่างๆ พร้อมฝึกอบรมทีมปฏิบัติการ ไว้รองรับการปฏิบัติการบนสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ไว้ล่วงหน้า

สามารถแก้ไขปัญหาการบูรณาการ ทั้งฐานข้อมูลและการมีปฏิสัมพันธ์ ในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อทั้งของภาครัฐและเอกชน ในรูปบูรณาการ Integration and Collaboration

เป็นเครื่องมือทางการบริหารพันธกิจของหน่วยงาน สนองความสำเร็จโดยการทำงานเชิงรุกแบบ Proactive เพิ่มและวัดสมรรถนะในการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม มุ่งเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลาง จนเป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการให้บริการ ได้โดยง่าย

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไปสู่ “VUCA World” นี้ ได้ก่อเกิดกระทบไปสู่วิถีชีวิตใหม่แบบ New normal ของคนทำงานออฟฟิศ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน แต่ละองค์กรจึงต้องปรับระบบและวิธีการทำงานกันอย่างเร่งด่วน รวมถึงการปรับปรุงพื้นที่ทำงานใหม่ให้ตอบสนองไลฟสไตล์ในการทำงานแบบวิถีใหม่

 

ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่า การทำงานแบบ Remote Work  ไม่จำเป็นต้องใช้สำนักงาน แต่อย่างไรก็ตามสำนักงานยังเป็นพื้นที่สำคัญในการดำเนินงาน โดยในอนาคตหากนำ Remote Work มาปรับใช้ สำนักงานจะกลายเป็นพื้นที่ในการพบปะหรือดำเนินงานในเรื่องสำคัญอย่างเช่น การนัดประชุมแบบเป็นทางการ เป็นต้น ดังนั้นการปรับปรุงสำนักงาน จึงให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานเป็นหลัก เช่น การปรับปรุงห้องประชุม หรือการปรับปรุงพื้นที่ทำงานใหม่ ในรูปแบบ co-working space ที่ตอบสนองไลฟสไตล์ในการทำงานแบบวิถีใหม่ โดยมีพื้นที่ส่วนกลางเพิ่มมากขึ้น ไม่ยึดติดกับการนั่งทำงานที่โต๊ะ แต่ปรับให้สำนักงานเป็นเหมือนพื้นที่ผ่อนคลายสำหรับพนักงานที่ต้องปลอดภัยจากการแพร่ระบาด อบอุ่นกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติแบบ Homey & Biophilia มีพื้นที่ทำงานและคลายเครียด แบบไลฟสไตล์ เอกขเนก ดึ่มกาแฟ เป็นต้น

สรุป ศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล คือเครื่องมือทางการบริหารหน่วยงานของภาครัฐยุค Digital Transformation ที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการใช้งานที่ในการขับเคลื่อนองค์กร ที่สอดรับกับเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นรัฐบาลดิจิทัล และวิถีชีวิตของคนทำงานแบบ New normal รองรับการปฏิบัติงานแบบ Work from home: wfh ตามระเบียบใหม่ของราชการ

สนใจกรณีย์ศึกษาหรือต้องการข้อมูลการออกแบบ “ศูนย์ปฏิบัติการดิจิทัล”  ติดต่อขอข้อมูลได้ที่  087-709-2255, 083-988-2574 หรืออีเมล info@avl.co.th