ระบบอะคสูติกส์สำหรับห้องประชุม มีจุดประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพเสียงในห้องประชุมให้ได้มาตรฐาน ด้วยวิธีการออกแบบองค์ประกอบด้านต่างๆ ของห้อง เช่น การลดเสียงรบกวนจากภายนอก การป้องกันไม่ให้ภายในห้องมีเสียงที่สะท้อนมากจนเกินไป การควบคุมการกระจายของเสียง ฯลฯ

ห้องประชุมกับค่าทางอะคูสติกส์
ส่วนใหญ่แล้วห้องประชุมจะมีลักษณะปิด ซึ่งประกอบด้วยพื้น ผนัง และเพดาน ทำให้เสียงที่เกิดขึ้นภายในบริเวณห้องเกิดการสะท้อนและดูดซับเสียง อันมีผลกระทบต่อคุณภาพของเสียงที่ต้องใช้สื่อสารกันในการประชุม สำหรับค่าต่างๆในทางเทคนิคของงานระบบอะคูสติกส์ ที่ผู้ออกแบบห้องประชุมควรให้ความสำคัญ มีดังนี้

ค่าความก้องสะท้อนของเสียง RT60 (Reverberation Time 60) คือเวลาในการสะท้อนกลับของเสียงที่คงเหลืออยู่เมื่อต้นเสียงหยุดแล้ว เป็นการวัดค่าของเวลาที่สะท้อนกลับ หากเวลาสะท้อนกลับน้อยเกินไปจะทำให้ความรู้สึกแห้ง ไม่มีชีวิตชีวา ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของการสื่อสารที่ดีได้ แต่ถ้าค่าของเวลาการสะท้อนมากเกินไปก็จะกลายเป็นเสียงรบกวน ดังนั้นการออกแบบห้องประชุมที่ดีจึงต้องกำหนดค่า RT60 เป้าหมายให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของห้องประชุม

ค่าเสียงรบกวน NC (Noise Criteria) คือค่ามาตรฐานของระดับความเงียบ หมายถึงค่าระดับความดังของเสียงพื้นฐานที่กำหนดไว้ในพื้นที่แต่ละประเภท ได้รับการสร้างขึ้นมาเพื่อวัดค่าความเงียบที่เหมาะสมภายในห้องหรือภายในอาคารต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอะคูสติกชาวอเมริกัน ชื่อ Leo Beranek ค่าระดับความดังของเสียงพื้นฐานเกิดได้จากสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ เช่น เสียงจากรถจักรยานยนต์ เสียงฝนตก เสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า เสียงเดิน เสียงพูดคุย เสียงกระทบกันกับวัตถุ เป็นต้น หากเป็นห้องประชุมเสียงรบกวนเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้งานห้องประชุม ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบและการจัดการกับวัสดุอะคูสติกส์ ตั้งแต่การจัดวางตำแหน่งวัสดุในแต่ละส่วนของพื้น ผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา เป็นต้น

ค่าดัชนีการส่งผ่านของเสียงพูด STI (Speech Transmission Index) คือคุณภาพของการส่งผ่านเสียงพูดระหว่างผู้ส่งเสียง (แหล่งกำเนิดสัญญาณเสียง) กับตำแหน่งผู้รับฟัง ค่าวัดที่ได้จะอยู่ระหว่าง 1 คือดีที่สุด(เป็นแค่อุดมคติ) ถึง 0 คือแย่ที่สุด

ค่าดัชนีการส่งผ่านเสียงพูดแบบเร็ว RASTI ( Rapid Speech Transmission ) คือคุณภาพการส่งผ่านเสียงพูดแบบเร็ว หลักการเหมือนค่าดัชนีการส่งผ่านของเสียงพูด (STI) ต่างกันตรงที่ค่า RASTI จะเป็นการวัดค่าที่ความถี่เพียง 2 อ็อกเทฟ (Octave)เท่านั้น ดังนั้นผลที่ได้จะต่างกับ STI

ค่าระดับความดังของเสียง SPL (Sound Pressure Level)
การวัดระดับของความดังเสียง SPL มีหน่วยเป็นค่า dB ใช้การวัดระดับความดังของเสียงภายในห้องประชุม ควรจะทำการวัดหลายๆ จุดทั่วบริเวณทที่มีผู้ฟังในพื้นที่ห้อง เพื่อให้ทราบด้วยว่าค่าระบบความดังทั่วบริเวณห้องประชุมไม่มีความแตกต่างกันจนเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดไว้

การกำหนดค่า Criteria ที่เหมาะสม เพื่อเป็นเป้าหมายในการออกแบบ
ผู้ออกแบบห้องประชุม ควรคำนึงถึงมาตรฐานของค่าทางเทคนิคต่างๆ ตามประเภทของห้องประชุม แล้วกำหนดค่าที่เหมาะสมขึ้นมา เพื่อออกแบบและการจัดการกับวัสดุอะคูสติกส์ แล้วคำนวณหรือหรือใช้เครื่องมือ Acoustic Simulation ช่วยคำนวณ เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า หากก่อสร้างตามแบบรูปที่ออกแบบไว้ จะได้ค่าอะคูสติกส์เป้าหมายตามที่กำหนด

ตัวอย่างการกำหนดการเป้าหมายการออกแบบอะคูสติกส์

  • ค่า RT60 เป้าหมายอยู่ระหว่าง 1.4-1.9 Sec
  • ค่า NC เป้าหมายอยู่ระหว่าง NC-30-NC-35 หรือ 38-42 dBA
  • ค่า STI เป้าหมายไม่น้อยกว่า 0.66
  • ค่า SPL เป้าหมายที่ความดังสูงสุด(SPL Peak) ไม่น้อยกว่า 80 dB

เครื่องมือสำหรับการวัดค่าระบบอะคูสติกส์สำหรับห้องประชุม

Instrument: TEF25 Analyser

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง พร้อมโปรแกรม SOUND LAB GOLD LINE
  • ไมโครโฟนสำหรับการวัด ตามคุณสมบัติและประเภทของการวัด
  • สายสัญญาณคุณภาพสูง
  • ระบบเสียง
ที่มาของภาพ: http://www.gold-line.com/tef/t-tefkit.htm

 

Instrument: NTI Audio & Acoustics set

  • Sound Level Meter
  • Spectrum Analyser
  • STIPA Analyser
  • Audio Analyser
  • Digital Audio Analyzer
  • Vibration Meter
  • Projector PRO Software
  • Measurement Microphones
  • Class 1 Sound Calibrator
  • Manufacturer Calibration Certificate

Instrument: Noise Sources for measuring Room & Building Acoustics Set

  • Dodecahedron Speaker Set
  • Power Amplifier.
  • Tapping Machine
ที่มาของภาพ: https://www.nti-audio.com/
ที่มาของภาพ: https://www.nti-audio.com/

avl-ebook-prepare-meeting-room