อาคารกิติมาศ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอาคารเรียนและปฏิบัติการเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้แห่งใหม่สำหรับนักศึกษานานาชาติ โดยอาคารแห่งนี้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน สูง 6 ชั้น สำหรับบริเวณชั้น 5 และชั้น 6 ของอาคาร ถูกออกแบบให้เป็นห้องปฏิบัติการหลักสูตรสาขาจิตรกรรมและศิลปกรรม

สถานที่:
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
ลูกค้า:
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบโครงการ:
ห้องสตูดิโอ
ขอบเขตงาน:
Audio Visual Design,
Acoustic Design,
Interior Design

Concept Design

แนวคิดในการออกแบบห้องฝึกปฏิบัติการสาขาจิตรกรรมและศิลปกรรม คือ Digital Technology Convergence แสดงให้เห็นถึงความล้ำสมัยด้วยเทคโนโลยี สมกับสถาบันที่ผลิตบุคลากรด้านภาพยนตร์โทรทัศน์ และการแสดงศิลปะบนเวทีที่ครบวงจร ด้วยระบบเทคโนโลยีที่รองรับการปฏิบัติงานด้าน Film Production and TV Production และการแสดงศิลปะบนเวทีได้พร้อมกัน โดยออกแบบระบบพื้นฐาน(Infrastructure) ให้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบโครงข่ายเพื่อให้รองรับการทำงานในระบบ Media Network Studio ภายใต้มาตรฐาน Film and TV Broadcasting ประกอบไปด้วยพื้นที่ต่างๆ ดังนี้

ห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ขนาดใหญ่ (Large Film/TV Studio)

AVL ออกแบบห้องฝึกปฎิบัติการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ขนาดใหญ่ สำหรับการเรียนการสอนด้านการผลิตภาพยนต์และรายการโทรทัศน์ประเภทต่างๆ เช่น รายการข่าว ละคร รายการวาไรตี้ การถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณา เพื่อสร้างทักษะในกระบวนการผลิตรอบด้านตั้งแต่การกำหนดมุมกล้องในการถ่ายทำ จนถึงการจัดแสง
ในการออกแบบตกแต่งภายใน AVL ออกแบบโดยคำนึงถึงค่าอะคูสติกส์ของห้อง (acoustic room design) ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน รองรับกระบวนการสร้างองค์ความรู้และการฝึกปฏิบัติการ ภายใต้แนวคิด Digital Technology Convergence

ห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ขนาดเล็ก (Small Studio)

สำหรับห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ขนาดเล็ก ถูกออกแบบให้ใช้งานด้าน VDO Studio Production โดยในการออกแบบยึดแนวคิดที่ผสมผสานระหว่างห้อง ในรูปแบบของ Black Box Theater และ TV Production Studio เพื่อสามารถรองรับการใช้งานทั้งสองประเภท ทั้งงานระบบและปัจจัยพื้นฐานต่างๆภายในห้อง เช่น ระบบเสียง ระบบไฟเวที ระบบ Effect ระบบสื่อสาร พื้นเวที ม่าน ฯลฯ ออกแบบเพื่อตอบสนองในการสร้างทักษะการปฏิบัติงานการแสดงศิลปะบนเวที ให้เกิดความชำนาญการในระดับมืออาชีพ

ห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และแสดงละคร (Screening Room)

สำหรับห้องปฏิบัติการภาพยนตร์และแสดงละคร ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานการแสดงละครเวทีและปรับเป็นห้องอเนกประสงค์ได้ โดยแนวคิดในการออกแบบยึดตามรูปแบบ Movie Theater & Auditorium เนรมิตรพื้นที่ภายในห้องให้กลายเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดย่อม ระบบเสียง Dolby Atmos และระบบการฉายภาพยนตร์แบบ 4K (4K Cinema Projector) รวมถึงมีระบบไฟเวทีและอุปกรณ์อื่นๆสำหรับการแสดงละครเวที เพื่อรองรับการศึกษาทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของนักศึกษา

ห้องฝึกปฏิบัติการผลิตต้นแบบเสียงและภาพ (Mastering Room)

ห้องฝึกปฏิบัติการผลิตต้นแบบเสียงและภาพถูกออกแบบให้รองรับการฝึกปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ในกระบวนการทำ Mastering ด้วยระบบเครื่องมือและอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถรองรับกระบวนการทำงานผลิต Mastering ทั้งในด้านดนตรี โฆษณา ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์
นอกเหนือจากเป็นห้องสำหรับการฝึกปฏิบัติกระบวนการการทำ Mastering แล้ว ห้องนี้ยังถูกออกแบบให้เป็นศูนย์กลาง (Storage Data Center) ในการเก็บข้อมูลที่มีการบันทึก (ทั้งภาพและเสียง) จากห้องอื่นๆ และสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่เก็บไว้ใน Storage Data Center ไปใช้งานในการ Edit หรือ Remaster ได้ตลอดด้วยเทคโนโลยี Media network ที่รองรับความคมชัดสูงขนาด 4K และสามารถส่งและรับข้อมูลต่างๆไปยังพื้นที่อื่นๆได้ เช่น ห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (Large & small Film/TV Studio) ห้องบันทึกเสียง (Audio Recording Suites) ไปจนถึงห้อง ห้องฝึกปฏิบัติการภาพยนตร์และแสดงละคร (Screening Room) เป็นต้น

Audio Recording Suites

AVL ออกแบบ Audio Recording Suites ให้เป็นพื้นที่สำหรับการฝึกปฏิบัติและสร้างองค์ความรู้ในการบันทึกเสียง การผสมเสียง จนไปถึงการผลิตเสียงการแสดงดนตรี โดยคุณสมบัติของห้องนี้ผสมผสานระหว่าง Live Room และ Dry/Dead Room เพื่อให้รองรับการใช้งานได้อย่างหลากหลาย

เนื่องจาก Audio Recording Suites เป็นพื้นที่ที่ใช้งานด้านเสียง ดังนั้นในการออกแบบจึงต้องใช้ความพิถีพิถันสูง โดย AVL ออกแบบภายในด้วยหลักการของอะคูสติกส์ เพื่อให้ได้คุณสมบัติทางเสียงที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการบันทึกเสียง ตั้งแต่การคำนวณ การเลือกใช้วัสดุ ขนาดและรูปทรงของห้อง การป้องกันเสียงรบกวนระหว่างห้อง ฯลฯ